top of page
Search

เพิ่มคุณค่าเพื่อสร้างธุรกิจที่ดีกว่า



ในปัจจุบัน สินค้าและบริการที่ผู้บริโภคต้องการ มักอยู่ในรูปแบบที่สามารถแก้ไขปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ด้วย เช่น ผลิตภัณฑ์ที่สนับสนุนชุมชนในท้องถิ่นเพื่อสร้างรายได้ให้กับผู้คน หรือผลิตภัณฑ์ที่มาพร้อมบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นั่นทำให้การเติบโตทางธุรกิจในปัจจุบัน มักเกิดจากการที่องค์กรสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ จากการ ‘ทำสิ่งที่ดี’ ให้เป็น ‘คุณค่าเพิ่ม’ที่เข้าไปอยู่ในทุกขั้นตอนของห่วงโซ่คุณค่า ซึ่งธุรกิจสามารถทำได้ใน 2 ลักษณะหลัก คือ

.

1. การลดผลกระทบเชิงลบที่เกิดจากห่วงโซ่คุณค่า: ธุรกิจสามารถทำได้โดยการนำการสร้างคุณค่าเข้าไปเชื่อมโยงกับทุกกระบวนการ หรือทุกขั้นตอนในการดำเนินธุรกิจ เพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถลดผลกระทบเชิงลบได้อย่างถูกจุด และมีประสิทธิภาพ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว นอกจากจะดีกว่ากว่าในแง่ของสังคมและสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังดีกว่าในแง่ของเศรษฐกิจอีกด้วย เพราะการไม่ก่อให้เกิดปัญหาตั้งแต่แรก อาจเป็นหนทางที่จะทำให้ธุรกิจสามารถลดค่าใช้จ่าย และลดการใช้ทรัพยากรในการแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในภายหลังอีกด้วย ยกตัวอย่าง บริษัทน้ำอัดลมรายใหญ่ของโลกอย่าง Coca-Cola ที่ผลิตน้ำอัดลม ซึ่งมีน้ำ อ้อยและน้ำตาลเป็นวัตถุดิบหลัก นั่นทำให้ Coca-Cola ให้ความสำคัญในการบำบัดน้ำเสียคืนสู่ชุมชน ตลอดจนการสร้างรายได้ผ่านการจ้างงานเกษตรกรในอุตสาหกรรมอ้อย และน้ำตาล

.

2. การหาโอกาสต่อยอด หรือสร้างธุรกิจใหม่ภายใต้การสร้างคุณค่าร่วม: สามารถทำได้โดยการวิเคราะห์เพื่อหาสิ่งที่สามารถเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาที่ยังไม่ได้ถูกแก้ (Unsolved Problem) หรือประเด็นที่ยังไม่ได้ถูกพัฒนา (Undeveloped Issue) โดยการมองหาประเด็นที่สามารถเข้าไปยกระดับคุณภาพชีวิต หรือยกระดับสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นได้ จนอาจนำไปสู่การสร้างโอกาสต่อยอดธุรกิจบนพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเดิม (Adjacent Business) หรืออาจเป็นการสร้างธุรกิจใหม่ (New Business / New S-curve) ที่ต่างจากธุรกิจเดิมโดยสิ้นเชิง ยกตัวอย่าง บริษัท Innobic (Asia) บริษัทไบโอเทคโนโลยี และอาหารเพื่อสุขภาพ ซึ่งจัดตั้งโดย ปตท. ที่ตอบโจทย์ในเรื่องของการยกระดับคุณภาพชีวิต เนื่องด้วยปัจจุบัน ประเทศไทยก็ได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว

.

การสร้าง ‘คุณค่าเพิ่ม’ ในทุกขั้นตอนของห่วงโซ่คุณค่าทั้ง 2 ลักษณะนี้ ต้องเกิดขึ้นภายใต้การสร้างคุณค่าร่วม (Creating Shared Value) ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิดที่เปลี่ยนมุมมองด้านการดำเนินธุรกิจเพื่อแก้ไขปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมของภาคธุรกิจ ให้กลายเป็นการดำเนินธุรกิจที่สามารถสร้างทั้งผลกำไร และผลกระทบเชิงบวกได้ หรือสรุปได้ว่า ธุรกิจจะสร้างความยั่งยืนได้ หากธุรกิจสามารถทำให้การทำสิ่งที่ดีกลายเป็นโอกาสในการเติบโตให้กับธุรกิจด้วยเช่นกัน

.

Analyzed by BRANDigest

.

163 views

Comments


bottom of page