top of page
Search

SCG ผู้นำด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อโลกที่ดีกว่า


เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) คือ หนทางใหม่ในการสร้าง “คุณค่า” ให้กับทรัพยากร โดยการนำทรัพยากรธรรมชาติในห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) มาหมุนเวียนเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หรือ ใช้ประโยชน์ซ้ำมากกว่า 1 ครั้ง ซึ่งสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น การรีไซเคิล การนำผลิตภัณฑ์เก่ามาเปลี่ยนเป็นวัตถุดิบใหม่หรือพลังงานทางเลือก และการย้ายของเสียจากจุดสิ้นสุดของห่วงโซ่อุปทานไปยังจุดเริ่มต้น เป็นต้น โดยทั่วไปแล้วการผลิตสินค้าและบริการมักใช้วัตถุดิบจากสิ่งแวดล้อม และเมื่อสินค้านั้นถูกนำไปใช้ สิ่งของเหลือใช้จากสินค้านั้น ๆ ก็จะถูกนำไปทิ้ง และกลายเป็น “ขยะ” กระบวนการดังกล่าวนี้ เรียกว่า กระบวนการเชิงเส้น (Liner Process) ซึ่งนอกจากจะทำให้มีปริมาณ ขยะ เพิ่มขึ้นแล้ว อาจทำให้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดถูกใช้หมดไปในที่สุด เศรษฐกิจหมุนเวียน จึงเป็นคำตอบหนึ่ง ของหนทางไปสู่โลกที่ดีกว่า ที่หลากหลายภาคส่วนให้ความสนใจ และส่งเสริมการสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อสนับสนุนการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งจัดการกับปัญหาขยะ และของเหลือใช้อย่างถูกวิธี . ในยุคที่โลกของเรากำลังประสบปัญหาสิ่งแวดล้อม และภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง จากหลายปัจจัย ประเทศไทยก็ได้ประสบปัญหาที่ท้าทายในด้านของการจัดการทรัพยากร ปัญหาขยะ และมลภาวะ จากข้อมูลของกรมมลพิษ ปี พ.ศ. 2562 ระบุว่า ขยะมูลฝอย เกิดขึ้นประมาณ 28.7 ล้านตัน (เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2561 ร้อยละ 3) โดยสาเหตุที่ทำให้ปริมาณขยะมูลฝอยเพิ่มขึ้นมาจากการขยายตัวของชุมชนเมือง การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรในประเทศไทย การส่งเสริมการท่องเที่ยว และพฤติกรรมการบริโภคของประชาชนที่นิยมความสะดวกสบายมากขึ้น โดยเฉพาะการส่งสินค้าจากบริการสั่งซื้อออนไลน์สินค้าและบริการสั่งอาหาร ที่ทำให้เกิดปริมาณขยะมูลฝอยเพิ่มมากขึ้น โดยในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา มีขยะพลาสติกเกิดขึ้นโดยเฉลี่ยประมาณ ปีละ 2 ล้านตัน และมีการนำกลับไปใช้ประโยชน์เพียง 0.5 ล้านตัน ส่วนขยะที่เหลืออีก 1.5 ล้านตัน มักเป็นพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single Use Plastic) โดยไม่มีการนำกลับไปใช้ประโยชน์ ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดปัญหาคุณภาพอากาศเสื่อมลง และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดมลพิษอย่าง ฝุ่นละออง PM2.5 . ปัญหาดังกล่าวได้จุดประกายความมุ่งมั่นของ SCG ในการผลักดันให้หลักเศรษฐกิจหมุนเวียนเกิดขึ้นในภาคธุรกิจและชุมชน โดยใช้เศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นกุญแจสำคัญสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งในมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวปฏิบัติ SCG Circular Way โดยกำหนดแนวทางปฎิบัติตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ดังนี้ 1. การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) เพื่อให้มีความทนทาน เอื้อต่อการรีไซเคิล หรือใช้ซ้ำ โดยคงคุณภาพเดิมไว้ แต่ใช้ทรัพยากรที่น้อยลง 2. การจัดหาทรัพยากร (Resource Input) เลือกใช้ทรัพยากรที่มาจากทรัพยากรหมุนเวียน (Renewable Resources) ในการผลิตสินค้า และใช้พลังงานทดแทนในกระบวนการผลิต 3. การผลิต (Manufacturing) ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และการใช้เครื่องจักรอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มความแม่นยำในกระบวนการผลิต ซึ่งส่งผลให้ของเสียจากกระบวนการผลิต การใช้น้ำและพลังงานลดลง 4. การขาย การตลาด และการขนส่ง (Sale and Distribution) ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 5. การใช้งานผลิตภัณฑ์ (Product Use) จากการออกแบบที่ทนทานมากขึ้น และง่ายต่อการแยกชิ้นส่วน พร้อมบริการซ่อมบำรุง 6. การนำกลับมาใช้ใหม่ (Recovery) ผลิตภัณฑ์ที่สิ้นอายุจะผ่านกระบวนการจัดการที่เหมาะสม เกิดการหมุนเวียนวัตถุดิบจากผลิตภัณฑ์ที่สิ้นอายุให้ถูกใช้งานอย่างคุ้มค่าที่สุด . นอกจากนี้ยังได้สร้างนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน และช่วยแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน อย่าง “นวัตกรรมพลาสติกจาก SCG กับโลกปี 2020” ผลิตทุ่นกักขยะลอยน้ำ ที่ผลิตจากพลาสติกเกรดพิเศษ HDPE ทำให้สามารถลอยน้ำได้ดีขึ้น และจัดเก็บขยะลอยน้ำได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม หรือผลิตฉากกั้นอะคริลิคป้องกันเชื้อแบบสำเร็จรูปและฉากกั้นอะคริลิกชนิดออกแบบพิเศษจาก Shinkolite (ชินโคไลท์) ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่มีความคงทน แข็งแทน และช่วยป้องกันเชื้อโรคได้ดี แจกจ่ายให้กับโรงพยาบาลต่าง ๆ อีกทั้งยังมีการส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่ชุมชน เช่น การสร้าง “บางซื่อโมเดล” เพื่อแก้ไขปัญหาขยะในชุมชนเมือง ด้วยหลักการ ผลิต–ใช้–วนกลับ และ “ชุมชน LIKE (ไร้) ขยะ” จังหวัดระยอง สร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องการคัดแยกขยะให้กับคนในชุมชน ผ่านโมเดล “บวร” หรือ บ้าน วัด และโรงเรียน เชื่อมโยงกับธนาคารขยะ จนสามารถนำขยะมารีไซเคิลได้มากขึ้น ควบคู่กับการลดปริมาณการฝังกลบขยะในชุมชนได้ . ความมุ่งมั่นของ SGC ส่งผลให้องค์กรได้รับรางวัล “ต้นแบบองค์กรที่ยั่งยืน” (SET Sustainability Awards) จากเวที SET Awards 2019 จัดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ต่อเนื่อง 5 ปีซ้อน ซึ่งได้รับรางวัล 2 ประเภท ได้แก่ รางวัลเกียรติยศบริษัทจดทะเบียนด้านความยั่งยืน (Sustainability Awards of Honor) และ รางวัลหุ้นยั่งยืน (Thailand Sustainability Investment) เน้นย้ำความสำเร็จขององค์กรที่มุ่งมั่น คิดจริง ทำจริง และสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ดีกว่า เพื่อการพัฒนาธุรกิจ ชุมชน สังคม และโลกอย่างยั่งยืน . Analyzed by BRANDigest . #BetterCorporate #BWi #BetterWorld #3Ps #NetPositiveImpact


178 views

Comments


bottom of page