top of page
Search
Writer's pictureBWi Official

ประเทศไทย กับ การบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน



การเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันของสภาพอากาศ มลภาวะที่เพิ่มสูงขึ้นทั้งทางอากาศและทางน้ำ ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดถี่ขึ้นเรื่อย ๆ ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นเหล่านี้ อาจถูกมองว่าเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการดูแลจากภาครัฐ หรือควรอยู่ในความรับผิดชอบของภาคเอกชน แต่ความจริงแล้ว ทุกคนในสังคมคือผู้ที่มีหน้าที่ช่วยกันรับผิดชอบต่อความเป็นไปที่เกิดขึ้นในระบบนิเวศ ที่มีตนเองเป็นส่วนหนึ่งในนั้น

จุดมุ่งหมายสำคัญของเป้าหมายในข้อนี้ คือการผลักดันให้เกิดความรับผิดชอบต่อการบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืนตลอดวงจรชีวิต​ ซึ่งต้องคำนึงตั้งแต่การจัดการห่วงโซ่ในการผลิต ไปจนถึงการจัดการของเสียหลังการบริโภค โดยมีตัวอย่างการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องดังนี้

การจัดทำแผนขับเคลื่อนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (Sustainable Consumption and Production Roadmap : SCP) พ.ศ. 2560-2579 เพื่อเสริมสร้างกลไกภายในองค์กร รวมไปถึงการสร้างความร่วมมือ เพื่อแก้ไขปัญหาและลดผลกระทบเชิงลบที่เกิดจากการบริโภค และการผลิต จากคณะทำงานขับเคลื่อน เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 12 สร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการบริโภค และผลิตที่ยั่งยืน

การสนับสนุนการจัดซื้อจัดจ้าง ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปี พ.ศ. 2560-2564 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ผลิตและผู้บริโภค ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งคาดว่าภายในปีหน้า จะมีองค์กรภาครัฐและเอกชนรวมกว่า 3,770 ที่ให้ความร่วมมือ 

การส่งเสริมนโยบายอุตสาหกรรมสีเขียว ที่ต้องการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในเชิงลบ ลดการใช้พลังงาน และสร้างตลาดให้กับผลิตภัณฑ์ที่เป็นต่อสิ่งแวดล้อม โดยกระทรวงอุตสาหกรรม

นอกจากนี้ ยังมีการดำเนินตามแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ พ.ศ. 2559-2564 ในการสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ให้มีระบบคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง เก็บรวบรวม ขนส่งแบบแยกประเภท แล้วนําไปกําจัดอย่างถูกวิธีด้วย

แม้ตัวอย่างการดำเนินงานข้างต้นจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับภาครัฐและภาคธุรกิจ แต่สิ่งเหล่านั้นจะไม่สามารถบรรลุผลสำเร็จได้เลยหากไม่ได้รับความร่วมมือจากภาคประชาชน เมื่อทุกภาคส่วนช่วยกันทำหน้าที่ของตัวเองอย่างเต็มที่ ภาครัฐสนับสนุนนโยบายหรือมาตรการ ที่ช่วยลดผลกระทบเชิงลบด้าน

สิ่งแวดล้อม ภาคธุรกิจผลิตสินค้าและบริการอย่างรับผิดชอบ คำนึงถึงเส้นทางการเดินทางของสิ่งที่ส่งมอบให้กับผู้บริโภค ที่ไปไกลกว่าแค่เพื่อให้เกิดการซื้อขาย รวมไปถึง การที่ผู้บริโภคเลือกจะสนับสนุนสินค้าและบริการ จากธุรกิจที่คำนึงถึงความยั่งยืนของผู้คนและสิ่งแวดล้อม เมื่อนั้นการบรรลุเป้าหมายด้านการบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืน คงไม่ใช่เรื่องที่ยากเกินไปสำหรับประเทศไทย

ที่มา : 

ศูนย์วิจัยด้านนโยบายด้านเศรษฐกิจสีเขียว

Thailand’s Voluntary National Review on the Implementation of the 2030 Agenda for Sustainable Development 2019




446 views

Comments


bottom of page