top of page
Search

ประเทศไทย กับ การศึกษาที่เท่าเทียม



การศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาประเทศในแทบจะทุกมิติ และเป็นรากฐานในการแก้ไขหลาย ๆ ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความยากจน ความเป็นอยู่ที่ดี ไปจนถึงความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

ทั้งนี้ประเทศไทยก็ยังคงเผชิญกับปัญหาด้านการศึกษาที่ไม่เท่าเทียม ถึงแม้ว่าในปัจจุบัน ประชาชนในประเทศจะมีจำนวนปีเฉลี่ยที่ได้รับการศึกษาเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว เมื่อเทียบกับเมื่อ 50 ปีก่อน จาก 1.89 ปี มาเป็น 7.6 ปีต่อคน แต่การศึกษาที่ดีขึ้น ก็ไม่ได้ครอบคลุมอยู่แค่ในมิติของจำนวนชั่วโมงการศึกษาที่ได้รับ หากแต่ยังมีมิติอื่น ๆ อีกมากที่เราต้องคำนึงถึง คำถามที่น่าสนใจคือ การแก้ไขปัญหาที่ว่านี้สามารถทำได้ด้วยวิธีใดบ้าง และเราจะสามารถเข้าใกล้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้มากแค่ไหน…


ด้านการเข้าถึงการศึกษา


ในแต่ละปี ประเทศไทยมีจำนวนนักเรียนเฉลี่ย 670,000 คน ต้องออกจากโรงเรียนกลางคัน หรือหลุดออกจากระบบการศึกษา โดยปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อเรื่องนี้ คือปัญหาความยากจน กองทุนเพื่อความ

เสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ร่วมทำการวิจัยจนได้ข้อเสนอเชิงนโยบาย นำมาซึ่งการปฏิรูปโครงสร้างการสนับสนุนด้านการเงินแก่เด็กยากจน โดยใช้การจัดสรรงบประมาณให้เป็นไปตามอุปสงค์ (Demand-side Financing) ซึ่งนับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ จากการที่หน่วยงานนำข้อมูล และเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้พัฒนาระบบจัดสรรงบประมาณเพื่อให้ตรงต่อตามความต้องการของนักเรียนเป็นรายบุคคล ในพื้นที่ และบริบทที่แตกต่างกัน


ด้านคุณภาพการศึกษา


เด็กนักเรียนแต่ละคน ล้วนมีความสามารถที่แตกต่างกัน เช่น ความถนัดในด้านศิลปะ การแสดง กีฬา หรือวิชาการ การใช้ชุดเงื่อนไขเดียว ไม่ว่าจะเป็นตัวชี้วัด หรือกฎเกณฑ์ต่าง ๆ กับเด็กนักเรียนทุกคน จึงไม่ใช่สิ่งที่จะสามารถนำมาใช้วัดความสำเร็จได้อย่างเหมาะสม ในปัจจุบัน ประเทศไทยกำลังขับเคลื่อนการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ (Education for Excellence) ภายใต้ระบบการศึกษาที่มีความยืดหยุ่น เท่าทัน

การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของบริบทแวดล้อม ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนการศึกษาที่มองทั้งระบบนิเวศ (Thailand Education Ecosystem) ครอบคลุมทั้งสื่อการเรียนรู้ ครูผู้สอน หลักสูตร ห้องเรียน โรงเรียน และนักเรียน โดยมีเป้าหมายในการสร้างรากฐานความรู้ ยกระดับทักษะ และสร้างทางเลือกที่สนับสนุน

ให้เด็กทุกคนกลายเป็นคนที่มีความสามารถและเติบโตขึ้นในแบบฉบับของตนเอง


คงไม่อาจปฏิเสธได้ว่าเส้นทางในการแก้ไขปัญหาด้านการศึกษา เพื่อนำไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน จะมีอุปสรรคปัญหาหลายด้าน และมีความเกี่ยวข้องกับผู้คนมหาศาล อีกทั้งสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID - 19 ที่ทำให้รูปแบบการเรียนการสอนต้องเข้าสู่ความปกติใหม่ (New Normal) แต่หากเราเข้าใจถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว แต่ละภาคส่วนรับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาอย่าง

มีประสิทธิภาพ การบรรลุเป้าหมายของ SDG และสร้างการศึกษาของประเทศที่ดีกว่า ก็ไม่ใช่ความฝัน

ที่ยากเกินไป

ที่มา:

กระทรวงศึกษาธิการ

Thailand Development Research Institute

Thailand’s Voluntary National Review on the Implementation of the 2030 Agenda for Sustainable Development 2019



2,387 views

Comments


bottom of page